1. อย่างแรกเราต้องสังเกตตัวเองก่อนว่าร่างกายของเรามีความไวต่อการตอบสนองของปริมาณกาแฟกี่ถ้วย และมีอาการอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมให้กับตัวเอง
2. หากคุณมีอาการนอนหลับยากอยู่เป็นทุนอยู่แล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือช่วงหัวค่ำ
3. ไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อหักโหมในการทำงาน จนให้อดนอนติดต่อกันหลายๆ คืน แม้ว่าคาเฟอีนจะช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัวได้จริง แต่อย่างไรก็ตาม สมองก็ต้องได้รับเวลาการพักผ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้
4. สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ ควรรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมเพิ่มเติมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
5. ควรดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของคาเฟอีน
6. เนื่องจากในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ จะทำให้มีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น การรับประทานผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายออกไปได้
7. ควรระวังครีมเทียมและน้ำตาลที่เติมลงไปในกาแฟ เพราะยิ่งเติมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มแคลอรี่ให้กาแฟและ เพิ่มพลังงานส่วนเกินให้กับร่างกาย
8. หากดื่มกาแฟหลายถ้วยในหนึ่งวัน คุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีคาเฟอีนเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มคาเฟอีนให้กับร่างกาย เช่น น้ำอัดลม ช็อกโกแลต โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
ที่มา : https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F/